ตรวจเช็คระบบดับเพลิง

ตรวจเช็คระบบเพลิงไหม้

สิ่งสำคัญภายหลังการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm Systems) คือ การบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Preventive Maintenance Fire Alarm System) เพราะจะทำให้การทำงานของระบบทั้งหมดนั้นมีความพร้อมในการตรวจจับและสามารถทำการแจ้งเตือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะอุปกรณ์ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต่างๆเป็นอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคส์ที่มีขีดจำกัดในการทำงานตามสภาวะแวดล้อมและสามารถเสื่อมสภาพได้ตามกาลเวลา กับสิ่งที่ทำให้อุปกรณ์เกิดปัญหาต่างๆได้ เช่นการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน สายหลุดจากจุดเชื่อมต่อกับสายชำรุดขาด กับเกิดการลัดวงจรลงกราวน์กับติดตั้งอุปกรณ์ไว้ในจุดที่อุณหภูมิต่างๆมากเกินกว่าที่ตัวอุปกรณ์จะรองรับได้ และปัญหาจากฝุ่นกับแมลงต่างๆไปทำให้ระบบอุปกรณ์ทำงานผิดพลาดหรืออาจเสียได้ ด้วยปัญหาต่างๆของระบบอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวนี้ ทำให้จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาระบบอย่างสม่ำเสมอและควรทำอย่างต่อเนื่อง จงอย่าคาดหวังกับระบบที่ไม่มีการบำรุงรักษาและขาดการดูแลจากผู้ใช้งาน ถึงแม้จะมีเจ้าหน้าที่เฝ้าไว้อยู่ตลาดเวลาก็คงจะทำอะไรได้ไม่ทันถ้าไม่ทราบเหตุเพลิงไหม้และตำแหน่งจุดเกิดเหตุอย่างรวดเร็ว

มาตรฐานการตรวจสอบกับทดสอบและบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

1.จัดเป็นรายสัปดาห์รายครึ่งปีและรายปี

1.1.รายสัปดาห์มักจะเป็นการตรวจสอบด้วยสายตา เช่นความเรียบร้อยโดยทั่วไปของระบบอุปกรณ์ยังมีอยู่ครบถ้วนหรือไม่ กับป้ายเตือนต่างๆอยู่ในสภาพและตำแหน่งที่สังเกตได้ชัดเจนเหมือนเดิมหรือไม่ กับวาล์วควบคุมระบบต่างๆยังอยู่ในตำแหน่งปกติหรือไม่ และเกจวัดความดันของระบบต่างๆชี้ความดันที่เหมาะสมหรือไม่ อาจจะมีการทดสอบบ้างเช่นกดปุ่ม Lamp Test ที่บนตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm Control Panel) เพื่อตรวจสอบหลอดไฟสัญญาณของตู้ควบคุมและเสียงแจ้งเตือน (Buzzer) เวลารับสัญญาณแจ้งเหตุซึ่งแทบจะไม่ได้ใช้งานเลยว่ายังทำงานได้ตามปกติหรือไม่ และการติดเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลชั่วขณะ (Fire Pump) มักจะทำนานพอที่จะให้อุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นสูงขึ้นถึงจุดใช้งานปกติของเครื่องยนต์นั้นๆและเกิดการไหลเวียนของน้ำหล่อเย็นส่วนใหญ่จะให้ช่างประจำสถานที่นั้นเป็นผู้จัดทำพร้อมทำรายงานเก็บไว้เป็นรายสัปดาห์

การตรวจเช็คระบบดับเพลิง

1.2.รายครึ่งปีหรือเรียกอีกอย่างว่าสองครั้งต่อปี มักจะเป็นการทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับเช่น Smoke Detector, Heat Detector, Beam Smoke Detector, Flame Detector และ Manual Stationโดยกระตุ้นให้อุปกรณ์ทำงานและส่งสัญญาณไปที่ตู้ควบคุม (Fire Alarm Control Panel) โดยก่อนทดสอบจะต้องเซ็ตให้ตู้ควบคุมทำงานอยู่ในรูปแบบของการทดสอบอุปกรณ์ (Test Mode) ก่อนคือแม้จะมีสัญญาณเข้ามาแต่จะไม่นำสัญญาณนั้นมาสรุปผลว่าเป็นเพลิงไหม้ แต่จะรับทราบว่าเป็นผลจากการทดสอบการทดสอบรายครึ่งปีนี้จะรวมไปถึงการทำความสะอาดอุปกรณ์เช่นถอดตัวอุปกรณ์ (Detector) ต่างๆออกจากจุดแล้วนำมาเป่าด้วยลมเพื่อไล่ฝุ่นออกจากตัวอุปกรณ์กับเช็ดทำความสะอาดกับการทำความสะอาดเลนส์ของ Beam Smoke Detector และ Flame Detector และ ตรวจดูสภาพความพร้อมของอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือ (Manual Station) กับเช็ดทำความสะอาดเมื่อถอดเอา Smoke หรือ Heat Detector ออกจากจุดก็ให้ถือโอกาสทดสอบการเช็ควงจร (Supervisory Circuit) ของที่ตู้ควบคุมไปด้วยคือเมื่อได้ถอดเอา Smoke หรือ Heat Detector ออกมาแล้วจะต้องมีสัญญาณแจ้งปัญหา (Trouble) ไปที่ตู้ควบคุมด้วยแสดงว่าตู้ควบคุมสามารถตรวจสอบได้ว่าเกิดปัญหากับอุปกรณ์หรือมีอุปกรณ์ถูกถอดออกไปสำหรับอุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector) อาจตัดไฟเลี้ยงที่ตัวอุปกรณ์เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของตู้ควบคุม ส่วนอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Stationให้ทดสอบโดยการดึงหรือกดหรือไขกุญแจทดสอบเพื่อตรวจสอบการตอบสนองของตู้ควบคุมในลักษณะเดียวกันหลังจากที่ทดสอบการเช็ควงจร (Supervisory Circuit) กับทำความสะอาดจึงต่อด้วยการทดสอบสัญญาณส่วนใหญ่จะให้บริษัทที่รับ“บำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้”เป็นผู้ทำให้

ตรวจเช็คตู้ควบคุมระบบดับเพลิง

1.3.รายปีหรือทดสอบใหญ่หนึ่งครั้งต่อปี จะเป็นการทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับที่มีทั้งหมดเช่น Smoke Detector, Heat Detector, Beam Smoke Detector, Flame Detector และ Manual Station โดยกระตุ้นให้อุปกรณ์ทำงานและส่งสัญญาณไปที่ตู้ควบคุม (Fire Alarm Control Panel) โดยก่อนทดสอบจะต้องเซ็ทให้ตู้ควบคุมทำงานอยู่ในรูปแบบของการทดสอบอุปกรณ์ (Test Mode) ก่อนคือแม้จะมีสัญญาณเข้ามาแต่จะไม่นำสัญญาณนั้นมาสรุปผลว่าเป็นเพลิงไหม้แต่จะรับทราบว่าเป็นผลจากการทดสอบการทดสอบรายครึ่งปีนี้จะรวมไปถึงการทำความสะอาดอุปกรณ์เช่นถอดตัวอุปกรณ์ (Detectorต่างๆออกจากจุดแล้วนำมาเป่าด้วยลมเพื่อไล่ฝุ่นออกจากตัวอุปกรณ์กับเช็ดทำความสะอาดกับการทำความสะอาดเลนส์ของ Beam Smoke Detector และ Flame Detector และตรวจดูสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ Manual Station กับเช็ดทำความสะอาดเมื่อถอดเอา Smoke หรือ Heat Detector ออกจากจุดก็ให้ถือโอกาสทดสอบการเช็ควงจร (Supervisory Circuit) ของที่ตู้ควบคุมไปด้วยคือเมื่อได้ถอดเอา Smoke หรือ Heat Detector ออกมาแล้วจะต้องมีสัญญาณแจ้งปัญหา (Trouble) ไปที่ตู้ควบคุมด้วยแสดงว่าตู้ควบคุมสามารถตรวจสอบได้ว่าเกิดปัญหากับอุปกรณ์หรือมีอุปกรณ์ถูกถอดออกไปสำหรับอุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector) อาจตัดไฟเลี้ยงที่ตัวอุปกรณ์เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของตู้ควบคุมส่วนอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) ให้ทดสอบโดยการดึงหรือกดหรือไขกุญแจทดสอบเพื่อตรวจสอบการตอบสนองของตู้ควบคุมในลักษณะเดียวกันหลังจากที่ทดสอบการเช็ควงจร (Supervisory Circuit) กับทำความสะอาดจึงต่อด้วยการทดสอบสัญญาณการทดสอบในรายปีนี้จะต้องมีการเตรียมการที่รัดกุมเช่นแจ้งกับผู้อยู่ในอาคารทราบว่าจะมีสัญญาณเตือนภัยหรืออาจจะให้ทดสอบระบบนี้ไปพร้อมๆกับการฝึกซ้อมรายปีส่วนใหญ่จะให้บริษัทที่รับ “บำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้” เป็นผู้ทำให้การทดสอบในรายคาบนี้ไม่จำเป็นจะต้องทดสอบอุปกรณ์ให้หมดทุกชิ้นในคราวเดียวแต่อาจจะแบ่งระบบออกเป็นส่วนๆเพื่อทดสอบเป็นคาบย่อยๆได้เช่นทดสอบพวก Smoke Detector กับ Heat Detector กับ Beam Smoke Detector กับ Flame Detector และ Manual Station ทุกๆเดือน โดยทำเดือนละ 1 ใน 6 ของจำนวน Detector ทั้งหมดก็จะทำให้ Detector ทุกตัวผ่านการทดสอบปีละสองครั้งตามกำหนด การจัดแบ่งออกเป็นคาบย่อยๆทำให้สะดวกต่อการจัดการมากกว่าด้วยการบำรุงรักษาที่เหมาะสม จะช่วยให้ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้หรือระบบป้องกันอัคคีภัยคงสมรรถนะตามที่ออกแบบไว้ทำให้แน่ใจได้ว่าระบบมีความไว้วางใจได้ตามปกติและจะทำให้ลดโอกาสของการทำงานที่ผิดพลาด

อุปกรณ์ดับเพลิง

การตรวจสอบกับทดสอบและบำรุงรักษาระบบมีรายละเอียดดังนี้

1.ตู้ควบคุม (Fire Alarm Control Panel) และตู้แสดงผล (Graphic Annunciator)

1.1.ตรวจเช็คการเข้าสายต่างๆที่จุดปลายทาง (Terminal) บนบอร์ด (Board) และการ์ด (Cards) เชื่อมต่อต่างๆภายในตู้ควบคุมโดยเข้าสายให้เรียบร้อยในกรณีที่สายหลวมหรือไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

1.2.ตรวจเช็คแหล่งจ่ายไฟและแบตเตอรี่โดยดูขั้วต่อสายกับวัดกระแสไฟเข้า-ออกปกติหรือไม่

1.3.ตรวจเช็คแบตเตอรี่โดยดูขั้วต่อว่าเป็นสนิมหรือไม่กับตรวจสอบวันหมดอายุและวัดกระแสไฟเข้า-ออกปกติหรือไม่

1.4.ตรวจเช็คดวงไฟ LED แสดงสถานะทุกๆดวง

1.5.ตรวจเช็คสวิทซ์ (Switch) ควบคุมระบบต่างๆ

1.6.ตรวจสอบหน้าจอ LCD หรือ LED และการแสดงผล

1.7.ทำความสะอาดโดยการปัดฝุ่นและเช็ดทำความสะอาดตู้

ตรวจระบบดับเพลิง

2.ตรวจสอบปัญหา (Trouble) ต่างๆที่เกิดขึ้นในระบบ (กรณีเกิดปัญหา)

2.1.เช็คว่าปัญหา (Trouble) ที่เกิดขึ้นจากสาเหตุใด

2.2.สรุปปัญหาที่เกิดขึ้นและดำเนินการแก้ไขแต่หากเป็นปัญหาที่เกิดจากสายไฟฟ้าเช่นสายขาดกับสายหลุดจากจุดเชื่อมต่อกับความผิดพลาดที่กราวนด์ (Ground Fault) หรือพบอุปกรณ์เสียหายจำเป็นต้องตรวจเช็คและแก้ไขหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ ควรแจ้งให้ผู้ว่าจ้างทราบค่าใช้จ่ายในส่วนที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมนี้ก่อนในรายงาน เพื่อให้ทางผู้ว่าจ้างอนุมัติสรุปค่าแก้ไขตามรายงาน

 

3.ทำการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ (Device) ตามฟังก์ชั่น (Function) การทำงาน

อุปกรณ์ทดสอบตัวตรวจจับควัน


3.1.การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ชนิดต่างๆจะทดสอบโดยการใช้อุปกรณ์ทดสอบตัวตรวจจับควัน (Smoke Detector Testerเช่นสเปรย์ควันเทียม

3.2.การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ชนิดตรวจจับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าที่กำหนดไว้ (Rate of Rise) ทดสอบโดยการใช้อุปกรณ์เป่าลมร้อน

3.3.การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ชนิดตรวจจับอุณหภูมิคงที่สูงมากกว่าที่กำหนดไว้ (Fixed Temperature) ทดสอบโดยการวัดค่าที่สายไฟเข้าตัวอุปกรณ์ว่าปกติหรือไม่

3.4.การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ทั้งชนิดตรวจจับอุณหภูมิคงที่และตรวจจับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าที่กำหนด (Rate of Rise /Fixed Temperature) ทดสอบโดยการวัดค่าที่สายไฟเข้าตัวอุปกรณ์ว่าปกติหรือไม่ใช้สเปรย์เทสควันเทียมทดสอบ (Smoke Tester) กับใช้อุปกรณ์เป่าลมร้อน

3.5.การทดสอบอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Stationทดสอบโดยการใช้งานจริงเช่นดึงคันโยกลง (Pull Downหรือกดปุ่ม (Push Buttonหรือแบบทุบกระจกให้แตก (Breakglass)

ทดสอบอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ

3.6.ทดสอบสัญญาณการแจ้งเตือนปัญหา (Trouble) ทดสอบโดยการทำให้เกิดปัญหาเช่นปลดสายโซนอุปกรณ์ตรวจจับ (Zone Detector) ออกจากบนบอร์ดแผงวงจรที่ตู้ควบคุมหรือถอดออกจากอุปกรณ์โมดูลที่ควบคุม (Module) หรือให้ถอดอุปกรณ์ตรวจจับส่วนหัว (Head Detector) ออกจากฐานอุปกรณ์ (Detector Base) หรือถอดอุปกรณ์ต่างๆออกจากระบบแล้วรอดูผลการแจ้งปัญหาว่าตรงตามที่ได้ทำให้เกิดปัญหาไปหรือไม่

3.7.ทดสอบสัญญาณแจ้งเตือน (Alarm Bell) ที่เกิดจากอุปกรณ์ตรวจจับ (Detector) ต่างๆและอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) ตามฟังก์ชั่น (Function) การแจ้งเตือนแบบต่างๆที่ได้กำหนดไว้

 

4.สรุปปัญหาและผลการทดสอบทั้งหมดตั้งแต่ข้อที่1ถึงข้อที่3ลงในบันทึกเพื่อทำรายงานส่งให้ทางผู้ว่าจ้างเงื่อนไขการให้บริการ:บำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้Terms of Service : Preventive Maintenance Fire Alarm System

1.ต้องเป็นอุปกรณ์ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้แบรนด์ที่ทางบริษัทฯรับให้การบริการบำรุงรักษาระบบเท่านั้นคือ Notifier หรือ System Sensor

2.ผู้ที่ต้องการใช้บริการบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องแจ้งข้อมูลระบบอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ให้ทางบริษัทฯทราบก่อนเพื่อนำเสนอราคาให้ดังนี้

2.1.แบรนด์กับรุ่นและจำนวนโซนของตู้ควบคุมระบบ (Fire Alarm Control Panel) ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน

2.2.แบรนด์กับรุ่นและจำนวนทั้งหมดของอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน

2.3.แบรนด์กับรุ่นและจำนวนทั้งหมดของอุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสงบีม (Beam Smoke Detector) ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน

2.4.แบรนด์กับรุ่นและจำนวนทั้งหมดของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน

2.5.แบรนด์กับรุ่นและจำนวนทั้งหมดของอุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector) ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน

2.6.แบรนด์กับรุ่นและจำนวนทั้งหมดของอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Station) ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน

2.7.แบรนด์กับรุ่นและจำนวนทั้งหมดของอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน (Audible Alarm Devices) ที่มีใช้งานอยู่เช่นBell, Horn, Strobe และ Horn-Strobe หรือ Speaker

2.8.การเดินสายนำสัญญาณของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบันเช่น
–เดินสายนำสัญญาณระบบอุปกรณ์ไว้แบบ 2 สาย (Two-Wire) Class-B
–เดินสายนำสัญญาณระบบอุปกรณ์ไว้แบบ 4 สาย (Four-Wire) Class-A

2.9.แบบการวางระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Riser Diagram Fire Alarm System) ล่าสุดที่ใช้งานอยู่ปัจจุบัน

 

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาและการตรวจเช็คระบบไฟอลามที่มีความสำคัญมากในการแจ้งเตือนก่อนเกิดเหตุดังนั้นเราควรทำการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ระบบไฟอลามของเรานั้นมีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานได้อย่างตลอดเวลา